การทำแบบประเมินผลงานสำหรับองค์กรสามารถทำได้หลายวิธีตามลักษณะของงานและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพื่อให้ได้แบบประเมินที่เหมาะสมและวัดผลได้จริง การประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร แบบประเมินที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยวัดผลการปฏิบัติงาน แต่ยังสามารถชี้ให้เห็นจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของพนักงานแต่ละคน ซึ่งนำไปสู่การวางแผนพัฒนาบุคลากรที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยในการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การเลื่อนตำแหน่ง การปรับเงินเดือน หรือการมอบหมายงานที่ท้าทายมากขึ้น การออกแบบและใช้แบบประเมินผลงานที่เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว
HR สามารถใช้รูปแบบการประเมินผลงานยอดฮิต
เข้ามาทำให้ระบบ HR ลื่นไหลขึ้นมี ดังนี้
1. การประเมินผลตามเป้าหมาย (Goal-Oriented Evaluation)
KPIs เป็นรูปแบบการประเมินผลที่เน้นการประเมินผลงานจากการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าโดยใช้ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators – KPIs) ในการวัดผล
ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายชัดเจนและต้องการวัดผลการทำงานที่เป็นรูปธรรม
การนำวิธีประเมินผลรูปแบบนี้เข้ามาในระบบ HR ช่วยให้
1. พนักงานทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจน
2. องค์กรสามารถวัดผลความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม
3. สามารถติดตามผลการดำเนินงานได้
ตัวอย่าง
1. พนักงานขาย: บรรลุเป้าหมายยอดขาย
2. พนักงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์: พัฒนาซอฟต์แวร์ให้เสร็จตามกำหนดเวลาและภายในงบประมาณ
2. การประเมินผลแบบ 360 องศา (360 – Degree Feedback)
การประเมินผลงานแบบ 360 องศา เป็นการประเมินผลงานจากหลายๆ มุมมอง เช่น ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกค้าและลูกน้อง การประเมินผลงานรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการพัฒนาตนเองและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน
การนำวิธีประเมินผลรูปแบบนี้เข้ามาในระบบ HR ช่วยให้
1. พนักงานทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อนและศักยภาพของตนเองจากหลายๆ มุมมอง
2. ผู้บริหารสามารถพัฒนาศักยภาพของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
ตัวอย่าง
1. พนักงานขาย: เพื่อนร่วมงานอาจประเมินว่าพนักงานคนนี้มีทักษะการสื่อสารที่ดี ลูกค้าอาจประเมินว่าพนักงานคนนี้ให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
2. พนักงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์: ผู้บังคับบัญชาอาจประเมินว่าพนักงานคนนี้มีทักษะการเขียนโปรแกรมที่ดี เพื่อนร่วมงานอาจประเมินว่าพนักงานคนนี้ทำงานเป็นทีมได้ดี
3. การประเมินผลแบบ OKRs (Objectives and Key Results)
การวัดผลแบบ OKRs เป็นการประเมินผลงานจากเป้าหมาย (Objectives) และผลลัพธ์ที่สำคัญ (Key Results) โดย OKRs เน้นการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ เพื่อสร้างกรอบการทำงานที่เป็นระบบ มีความเป็นไปได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
การนำวิธีประเมินผลรูปแบบนี้เข้ามาในระบบ HR ช่วยให้
1. พนักงานทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้
2. องค์กรสามารถติดตามผลการดำเนินงานได้
3. องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้
ตัวอย่าง
1. พนักงานขาย: Objective: เพิ่มยอดขาย 10% ในไตรมาสนี้ Key Results: ปิดการขาย 100 รายการ, เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ 20%
2. พนักงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์: Objective: พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ Key Results: พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ 3 ฟีเจอร์, แก้ไขบั๊ก 10 บั๊ก
การเลือกใช้รูปแบบการประเมินผลที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรสามารถประเมินผลการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
ทดลองใช้งานฟรี!
สำหรับองค์กรที่ต้องการยกระดับการบริหารจัดการระบบ HR ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำแบบประเมินประจำปีเข้ามาใช้ในรูปแบบดิจิทัล ระบบ HR จาก Pinno คือหนึ่งในคำตอบของโปรแกรม HR ที่จะยกระดับการทำงานให้ดีกว่าที่ผ่านมา
ลงทะเบียนใช้งานฟรี 30 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่นี่ คลิก