ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานด้านทรัพยากรบุคคลหรืองานระบบ HR ก็ไม่อาจหลีกหนีกระแสการเปลี่ยนแปลงได้ หลายคนอาจมองว่างาน HR เป็นเพียงงานประจำที่ไม่จำเป็นต้องปรับตัวตามเทรนด์ แต่ความจริงแล้ว HR คือหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวทันโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2024 ซึ่งเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ
การทำความเข้าใจรูปแบบการทำงานที่กำลังเป็นที่นิยมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาว HR ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดและค่านิยมแตกต่างจากคนรุ่นก่อน หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
Pinno จึงขอเชิญชวนผู้ที่ทำงานด้าน HR ทุกท่าน มาร่วมสำรวจแนวโน้มการทำงานในปี 2024 ไปด้วยกัน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และนำพาองค์กรของเราก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ในบทความนี้จะพาทุกท่านไปดูว่ารูปแบบการพัฒนาองค์กรแบบไหนที่น่าสนใจ, ระบบ HR มีอะไรบ้าง หรือ HR ต้องใช้โปรแกรมอะไรและจะส่งผลกระทบต่อระบบ HR อย่างไร
5 เทรนด์ทำงานที่ควรรู้เพื่อปรับใช้ในระบบ HR ให้ทันยุคใหม่ มีดังนี้
1. Generative AI
ถ้าพูดถึงแนวโน้มเทรนด์ต่างๆ เรื่อง AI ต้องถูกพูดถึงเป็นลำดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในระบบ HR คนทำงานสายนี้ต้องใช้ AI ให้เป็นเพื่อช่วยเบางาน เช่น การเขียน JD รับสมัครงาน เพื่อลดงานระบบ hrm , การวางแผนงาน, พัฒนาบุคลากรก็ให้ AI มาทำแทน นอกจากนี้ AI ยังเป็นครูแนะแนวได้อีกด้วยเป็นต้นว่า ถ้าอยากรู้ว่าควรพัฒนาตัวเองในด้านไหนให้ค่อยๆ ป้อนข้อมูล คุยกับ AI ไปทีละขั้น ไม่แน่ว่าเราอาจจะค้นพบการพัฒนาตัวเองในทางใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม
2. HR Tech
HR Tech ในที่นี้จะโฟกัส E-learning ที่มีเยอะขึ้นและแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์จะทำให้ทุกคนในบริษัทสามารถพัฒนาทักษะ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม HR เลยต้องตามเทรนด์ให้ทัน เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ในระบบ HR ให้คนในองค์กรได้พัฒนาตัวเองหรือบางบริษัทที่มีการทำงานแบบ Hybrid ก็จะมีแอปหรือโปรแกรมมาซัพพอร์ตการทำงานเพื่อให้การทำงานลื่นไหล
นอกจากนี้ HR Tech ที่ควรนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการและปรับปรุงกระบวนการทางด้านทรัพยากรบุคคล ได้แก่ HR Software ที่เป็นเครื่องมือช่วยเบางานจุกจิกที่ต้องทำเป็นประจำหรืองานระบบ hrm ที่ต้องทำบ่อย เช่น การจัดเก็บข้อมูลพนักงาน การจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการเลิกจ้าง ระบบจัดการประสิทธิภาพ และระบบบันทึกการลาและการประเมินผลการทำงาน เป็นต้น เมื่อได้นำ HR Tech เข้ามาช่วยบริหารการทำงานก็จะทำให้มีเวลาไปพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น
3. The Next Generation
คน Gen Z จะเข้าสู่ตลาดแรงงานเยอะขึ้น ชาวมิลเลนเนียลก็ก้าวไปเป็นผู้บริหาร ความท้าทายที่ HR ต้องเจอคือวัฒธรรมองค์กร ไลฟ์สไตล์การทำงานที่ต่างกัน ดังนั้น HR ต้องหาจุดกึ่งกลางร่วมกันให้ได้ ไม่งั้นแพอาจแตกองค์กรจะเดินต่อได้ยาก
4. Flexible Working
การทำงานยืดหยุ่นเริ่มมีมากขึ้น หลายๆ บริษัทเริ่มสร้างระบบ HR ให้มีนโยบายการทำงานที่บ้าน บริษัทให้พนักงานกำหนดเวลาทำงานได้เองและดูกันที่ผลลัพธ์ซึ่งองค์กรไหนที่มี Flexible Working อาจเป็นอีกหนึ่งข้อดีที่จะดึงดูดคนเก่งๆ เข้ามาร่วมงานได้
5. Office Experience
ความท้าทายของ HR คือการทำให้พนักงานเห็นคุณค่าของการทำงานในออฟฟิศว่าไม่ใช่เรื่องเสียเปล่า เราต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานที่บริษัทนั้นมีความคุ้มค่าที่จะมาเจอเพื่อนๆ มาประชุมกันแบบเจอหน้า งานก็จบไวขึ้น มีทีมเวิร์กดีขึ้น ซึ่งบริษัทเองก็อาจจะสวัสดิการเล็กๆ น้อยๆ จูงใจให้คนเข้ามาออฟฟิศเสริมด้วยก็ได้
การนำแนวโน้มเหล่านี้มาปรับใช้ในระบบ HR ไม่เพียงแต่จะช่วยให้องค์กรทันสมัยขึ้น แต่ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ ในยุคที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงคนเก่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ตอบโจทย์ทั้งคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าจึงเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งองค์กรที่สามารถปรับตัวได้อย่างชาญฉลาดจะมีความได้เปรียบในการสรรหาบุคลากรใหม่ที่มีศักยภาพสูง พร้อมทั้งรักษาพนักงานปัจจุบันที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญไว้ได้ สิ่งนี้จะนำไปสู่การสร้างทีมงานที่มีความหลากหลายทั้งในแง่อายุ ประสบการณ์และมุมมอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว
การปรับนโยบายองค์กรตาม HR Trends ให้เข้ากับระบบ HR ของแต่ละองค์กรนั้นไม่ควรทำแบบฉาบฉวยหรือรวดเร็วเกินไป แต่ควรค่อยๆ ดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กรเดิม ความพร้อมของพนักงานและเป้าหมายระยะยาวของบริษัท การสื่อสารที่ชัดเจนและการมีส่วนร่วมของพนักงานในกระบวนการเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้การปรับตัวเป็นไปอย่างราบรื่นและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย